วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

แหล่งของโอเมก้า-3ที่ดีที่สุด!

ปลาแซลมอนแหล่งกรดไขมันโอเมก้า-3ชั้นดี
   โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคอันดับต้นๆที่คนทั่วโลกเสียชีวิต จากรูปแบบการใช้ชีวิตในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การทำงานที่เครียดและมากเกินไป การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้โดยเฉพาะการกินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และจะดีไหมถ้าเราสามารถทำให้ร่างกายแข็งแรงและลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคได้จากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ
  ในปี2002มีวารสารทางการแพทย์แนะนำให้คนอย่างเราๆท่านๆรับประทานวิตามินให้หลากหลายให้เป็นประจำทุกวันเพื่อที่ร่างกายของเราจะได้รับวิตามินที่ครบถ้วนและยังแนะนำให้กินผักผลไม้ให้ได้ 5-9 หน่วยบริโภคต่อวัน และให้กินปลาทะเล2ครั้งต่อสัปดาห์ แล้วทำไมจำเป็นต้องกินปลาทะเลด้วยละ?
   ในปัจจุบันคนเรากินอาหารที่ใช้น้ำมันพืชปรุงเป็นจำนวนมากเกินไปเช่น แฮมเบอเกอร์ ไก่ทอด ฯลฯ ซึ่งในน้ำมันพืชจะมีกรดไขมันโอเมก้า-6 อยู่ถ้ากินมากเกินไปสัดส่วนของกรดไขมันโอเมก้า-6กับกรดไขมันโอเมก้า-3 จะมีปัญหาซึ่งจะทำให้เลือดในร่างกายเรามีความข้นหนืดมากและจะทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจวายและหลอดเลือดอุดตันได้
   จากการประชุมของผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันสุขภาพแห่งสหรัฐอเมริกา (National Institute of Health, NIH) พบว่าระดับกรดไขมันโอเมก้า-3ในน้ำนมแม่ของคนอเมริกันลดลงจากอดีตมาก จึงมีการแนะนำให้กินกรดไขมันโอเมก้า-3ในรูปของอีพีเอ (EPA) และดีเอชเอ (DHA) ในปริมาณ 650 มิลลิกรัมต่อวันจากเดิมที่เคยแนะนำอยู่ ที่300 มิลลิกรัมต่อวันเพื่อเป็นการเพิ่มสัดส่วนของกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่มีต่อกรดไขมันโอเมก้า-6 แล้วเราจะหากรดโอเมก้า-3 ได้จากที่ไหน ?
   ในอดีตได้มีนายแพทย์ได้ทำการศึกษาชีวิตของชาวเอสกิโมซึ่งพบว่าชาวเอสกิโมนั้นเสียชีวิตจากโรคหัวใจน้อยมากแต่กลับมีปัญหาเลือดแข็งตัวช้าจึงได้มีการศึกษาถึงอาหารการกินของชาวเอสกิโมจึงพบว่าชาวเอสกิโมกินปลาทะเล วาฬ หรือแมวน้ำเป็นอาหารและในสัตว์เหล่านี้ก็มีกรดไขมันโอเมก้า-3อยู่เป็นจำนวนมากและนอกจากนั้นก็ได้รับข้อมูลจากการศึกษาชีวิตของคนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลจากประเทศต่างๆเช่นญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์และอังกฤษ ซึ่งก็ไดรับข้อมูลที่เป็นไปในทางเดียวกัน จึงสรุปได้ว่า กรดไขมันโอเมก้า-3 ที่ได้จากสัตว์ทะเลโดยเฉพาะปลาทะเลจะสามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
   น้ำมันปลาจะสกัดได้จากปลาทะเลที่มีไขมันสูงเช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ปลาแมนฮาเดน ปลาเทราท์ และปลาพอลล็อค ซึ่งกรดไขมันโอเมก้า-3ที่พบในปลาเหล่านี้ก็จะมี2ชนิดคือ กรดไอโคซาเพนทาอีโนอีก (Eicosapentaenoic Acid) หรือ"อีพีเอ" และกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (Docosahexaenoic Acid) หรือ"ดีเอชเอ" ซึ่งกรดไขมันประเภทนี้จะไม่มีในน้ำมันพืชแต่ในน้ำมันพืชจะมีกรดไขมันโอเมก้า-3ชนิดแอลฟาไลโนเลนิก (Alpha-Linolenic Acid) หรือ"เอแอลเอ"แทนแต่ก็มีในจำนวนที่น้อย  ส่วนในสัตว์บกและสัตว์ปีกจะมีกรดไขมันโอเมก้า-6 มากและมีกรดไขมันโอเมก้า-3น้อย
   สำหรับกรดไขมันโอเมก้า-3 ชนิดเอแอลเอที่มีในพืชนั้นเป็นชนิดที่สามารถสร้างกรดไขมันโอเมก้า-3 ตัวอื่นได้ จึงนับว่าเอแอลเอเป็นกรดไขมันโอเมก้า-3ที่มีประโยชน์มาก แต่ในบางกรณีพบว่ากระบวนการสร้างอีพีเอและดีเอชเอที่มาจากเอแอลเอไม่สมบูรณ์ เช่นในผู้สูงอายุและคนที่เป็นโรคต่างๆจึงทำให้ต้องกินกรดไขมันโอเมก้า-3 จากปลาทะเลโดยตรง


   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น